วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

9 เคล็บลับการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง

ความสำเร็จไม่ได้อยู่ไกลเกินไปแต่อยู่ที่คนคนนั้นจะสู้หรือเปล่า


หลายคนมักจะตีความและคิดกันไปเองว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างรวด เร็ว ต้องอาศัยและพึ่งการอุปถัมภ์ค้ำชูจากภายนอกเสมอไป ซึ่งสำหรับยุคปัจจุบันนี้ทฤษฏีดังกล่าวได้ถูกหักล้างความเชื่อในเรื่องนี้ไป ได้มากพอสมควรแล้ว เพราะการสร้างธุรกิจใหม่ให้เจริญเติบโตและประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้อง อาศัยแรงบวกจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของผู้ประกอบการเอง โดยเคล็ดลับ 9 วิธีสร้างความสำเร็จด้วยตนเองมีดังต่อไปนี้

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญที่บรรดานักบริหารตัว ยงต่างไขว่คว้า แต่การประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเองกลับเป็นสิ่งที่ท้าทายกว่า เพราะจะได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง อีกทั้งนำพามาซึ่งเกียรติยศที่จะได้รับการกล่าวถึงไปอีกนาน
หลายคนมักจะตีความและคิดกันไปเองว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างรวด เร็ว ต้องอาศัยและพึ่งการอุปถัมภ์ค้ำชูจากภายนอกเสมอไป ซึ่งสำหรับยุคปัจจุบันนี้ทฤษฏีดังกล่าวได้ถูกหักล้างความเชื่อในเรื่องนี้ไป ได้มากพอสมควรแล้ว เพราะการสร้างธุรกิจใหม่ให้เจริญเติบโตและประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้อง อาศัยแรงบวกจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของผู้ประกอบการเอง โดยเคล็ดลับ 9 วิธีสร้างความสำเร็จด้วยตนเองมีดังต่อไปนี้


1. มุ่งไปที่กระแสเงินสด กำไรเป็นเรื่องรอง

นักธุรกิจมักจะถูกสอนให้คิดในเรื่องของกำไรต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งจริงๆแล้วควรลองเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่และมุ่งสนใจไปที่กระแสเงินสดหมุน เวียนภายในบริษัทแทน อย่าลืมว่าต้องใช้เงินสดจ่ายบิล ถ้าเกิดมียอดเงินหมุนเวียนอยู่ภายในบริษัทตลอดและมีการจ่ายชำระหนี้ตรงตาม เวลา พยายามให้มีการเรียกเก็บเงินระยะสั้นๆ ปิดยอดได้ไวๆ เมื่อนั้นก็จะได้ผลกำไรตอบแทนกลับมาเอง

2. ประมาณการความต้องการและกำลังผลิตอย่างต่ำ

ผู้ประกอบการต้องทำการประเมินแนวโน้มความต้องการของตลาดเป้าหมายอยู่ตลอด เวลา จากนั้นจึงทำการกำหนดสัดส่วนความต้องการของธุรกิจบริษัท เช่น ถ้าบริษัทผลิตเกี่ยวกับเครื่องสำอางสตรีที่กลุ่มตลาดเป้าหมายที่ใช้เป็น ประจำอยู่ที่ 1 ล้านคน ประมาณการส่วนแบ่งการตลาดขั้นต่ำที่ต้องการได้คือ 10% นั่นหมายถึง 100,000 คน แล้วนำมาคิดด้วยกำลังการผลิตขั้นต่ำของทางบริษัทว่าสามารถทำได้อย่างน้อยกี่ ชิ้้นต่อวันแล้วนำไปหักลบกันให้เรียบร้อยเพื่อหากำลังการผลิตว่าสามารถตอบ สนองได้หรือไม่นั่นเอง

3. วางแผนการทดสอบ

ผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องมีการทดสอบอย่างรอบด้าน ผู้ประกอบการควรออกแบบสร้างแผนทดสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเองโดยเริ่มทดสอบใน ส่วนของคุณสมบัติส่วนตัวและแนวทางการจัดวางจำหน่ายเพื่อจะหาวิธีที่ดีที่สุด ในการทำตลาดและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะเลือกจากจุดเด่นที่ได้มาจากการทดสอบนำมาเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาก็ ได้

4. ผลิตภัณฑ์สามารถพิสูจน์และยอมรับได้จริง

เป็นเรื่องสำคัญที่ผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกวางจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคนั้น จะต้องสามารถพิสูจน์ได้จริงในเชิงประจักษ์โดยผ่านการทดสอบจากทีมงานผู้ เชี่ยวชาญเสียก่อน นอกจากนี้การยอมรับจากสถาบันวิจัยสำคัญยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและ บริการของผู้ประกอบการอีกด้วย

5. เริ่มต้นจากการเป็นธุรกิจบริการ

ธุรกิจบริการจะมีข้อดีตรงที่สามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคได้อยู่ ตลอดเวลา ซึ่งนั่นเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของข้อมูลข่าวสารอย่างมหาศาล โดยผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวพัฒนาออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่ตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้งานได้ เช่น บริษัทที่ผลิตแชมพูสระผมบางส่วนก็มีที่มาจากการเป็นร้านให้บริการในเรื่อง การตัดแต่งและสระผมมาก่อนด้วยกันทั้งนั้น

6. มุ่งเน้นไปที่ประโยชน์การใช้งานไม่ใช่รูปแบบ

ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าก็ต่อเมื่อมันสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขา ได้จริงๆไม่ใช่มองแค่รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ดังนั้นการมุ่งพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มตลาด เป้าหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอันจะทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้ เป็นกอบเป็นกำกลับคืนมาสู่ธุรกิจของบริษัทภายในเวลาอันรวดเร็ว

7. จัดหาพนักงานให้เพียงพอ

บ่อยครั้งที่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากการทำธุรกิจค่อนข้างที่จะน่าผิดหวัง เพราะมีที่มาจากจำนวนพนักงานที่ไม่เพียงพอบวกกับไม่มีความรู้ความสามารถโดย ตรงกับงานที่กำหนดไว้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องจัดหาพนักงานที่มีความรู้ และมีจำนวนพนักงานที่เพียงพอสำหรับรองรับการทำงานที่พร้อมจะเติบโตต่อไปใน อนาคตด้วย

8. ใช้วิธีขายตรงเป็นตัวเบิกทาง

การขายตรงเป็นวิธีการค้าขายที่เก่าแก่มากที่สุดในโลก ควรทดลองใช้วิธีดังกล่าวเป็นอันดับแรกในการทำตลาด เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถสัมผัสได้อย่างแท้จริงถึงปัญหาของผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับจากกระแสตอบรับของผู้บริโภคโดยตรง และยังเป็นการตัดขั้นตอนในส่วนของพ่อค้าคนกลางที่เรียกรับผลประโยชน์ออกไป จึงทำให้ผู้ประกอบการได้กำไรที่เพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การค้าขายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า E Commerce ก็เป็นวิธีการขายตรงรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอยู่มิใช่น้อยในปัจจุบัน

9. จัดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาด

ถ้าผู้ประกอบการสามารถจัดอันดับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเองได้นั่นจะ เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับสถานะของตน เช่น ลูกค้าที่มีรายได้ต่างกันก็จะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาต่างกัน เป็นต้น ดังนั้นการจัดตำแหน่งผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสมควรจะต้องพึง กระทำเพราะจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ง่ายและในเวลาที่รวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง
ต่อให้ธุรกิจของผู้ประกอบการจะมีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูที่ยอดเยี่ยมสักเพียงใด ก็ตาม ที่สุดแล้วธุรกิจของผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องยืนอยู่บนลำแข้ง ของตัวเองให้ได้เสียก่อน เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงคงไม่มีใครที่จะคอยสนับสนุนธุรกิจอื่นๆไปได้โดย ตลอดอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเป็นผู้สร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับกิจการนั่นเอง

ความสำเร็จนั้นไม่มีใครที่จะสามารถสร้างให้เราได้หรอก
นอกจากเราจะสร้างขึ้นด้วนตัวเราเอง...

ขอบคุณข้อมูลจาก http://incquity.com/articles/startup/9-tips-achieve-successful-business

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

LinkWithin

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Free Hosting
loading...