วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

9 เคล็ดลับ......การเรียนเก่ง







1.คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อน

เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกัน ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือ   เพราะจะเป็นการ จัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้  ถ้า ทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยาก

2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ

เช่นตั้งไว้ว่า วันหนึ่ง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอ แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่อง  ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุด

3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไร

 อ่านวันละ 2 ชม. แต่แบ่ง เป็น 4 ยก  ครั้งละ 25 - 30 นาที และพัก 5- 10 นาที


4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะ
สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร

5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ในข้อ 4
 ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ดี   ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่

6. ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชา
เช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 1 เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้างเช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า  where do you go .? เป็นต้น  แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ ดังนั้นเรื่อง ศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที ก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่sub title เป็นภาษาอังกฤษ



7. วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ

อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมด ให้จบอย่างรวดเร็ว ถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกล แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลย จากนั้นให้รีบหา แบบฝึกหัด มาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อน  จากนั้นค่อย เสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มนึงมา อ่านเนื้อหาให้หมด อีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จบหมด .  สำคัญคือความตั้งใจนะคะ  ต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้ว ทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิด สดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเอง ให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้ โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่า  ต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้น มองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิด แปร๊บ ๆ ขึ้นมานึกออกทะลุหมด เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมา ในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน 1 บทต่อ 1 แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบท เช่น สถิติ อาจใช้ถึง 6 แผ่น หรือตรีโกณ 3 แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกินหรอกครับ.จากนั้นปาตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลย

8. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่

คือ ต้องมีความรู้ติดสมอง สามารถหยิบมาใช้การได้ทันทีครับ. ถ้าคิดจะเรียนเพื่อสอบนั่นก็แสดงว่า กำลัง คิดผิดอย่างใหญ่หลวง เด็กสมัยใหมนี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิก นั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเราครับ. เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อ ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้ ต้องเข้า ใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา  เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนา มุมมองความคิดต่าง ๆ เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไร ต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้. ดังนั้น จากข้อ 7. เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้ว ให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมอง
 

โดยทำดังต่อไปนี้
- ให้ นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก 1 เดือนหรือ 4 อาทิตย์นึกนะคะ. ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ แล้วสรุปตามแหง ๆ จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก 1 เดือนต่อครั้ง จนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้วให้เลิกค่ะ. ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ 1 อาทิตยืจนเลิกนึก นี่ คาดว่าไม่ตำกว่า 3 เดือนนะคะ  ใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์

9. กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อยๆ   คือกระบวนการสอบแข่งขัน

ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่ ม.1 จนจบ ม.6 เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเอง เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ครับ. เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่า ก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้นะคะ. ซัก 1 - 2 ปี รู้ผลแน่ รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้น แน่นอน อันดับระดับประเทศ ก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก อ้อ ลืมบอกไป. สิ่งสำคัญคือการอ่านล่วงหน้าช่วงปิดเทอม ก็อ่านของเทอมหน้านู้นหรือ อยู่ ม.4 จะอ่านของ ม.6 ก็ได้นะไม่ผิด




ที่มา:http://www.oknation.net

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เรียนสู่ความสำเร็จ ระดับมหาวิทยาลัย


 เคล็ดในการเรียนสู่ความสำเร็จ
ระดับมหาวิทยาลัย
    1. ตั้งเป้าหมาย
ตั้ง เป้าหมายว่า “เราจะต้องคว้าเกียรตินิยมมาให้ได้” สิ่งนี้สำคัญมากเพราะการได้เกรดเฉลี่ยดี ๆ จะช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนต่อ และหางานได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น นักศึกษาจะต้องตระหนักอยู่ในใจเสมอว่า การเรียนเก่งจะทำเราได้รับการยอมรับจากสังคม หางานง่าย และเป็นเกียรติประวัติติดตัวตลอดกาล ฉะนั้น นักศึกษาจึงไม่ควรลงเรียนในรายวิชาที่เนื้อหามีความยากจนเกินไป หรือในกรณีที่คุณครูผู้สอนถ่ายทอดความรู้ไม่เก่ง ทำให้เรียนเข้าใจยาก และถึงแม้ว่าอาจารย์คนนั้นจะเก่งแค่ไหนก็ตาม วิชานี้ก็ไม่ควรเลือกที่จะลงเรียนเพราะอาจทำให้เรียนไม่จบหรือได้คะแนนไม่ดี อย่างไรก็ตาม หากเป็นวิชาบังคับเลือกไม่ได้ นักศึกษาจะต้องตั้งใจเรียนให้มากขึ้น หมั่นทบทวนวิชาความรู้ และปรึกษาอาจารย์ผู้สอนหากมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ เป็นต้น

เคล็ดในการเรียนสู่ความสำเร็จ ระดับชั้นมัธยมศึกษา




เคล็ดในการเรียนสู่ความสำเร็จ  
 
บทความนี้กล่าวถึงเรื่อง “วิธีการเรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ” โดยเนื้อหาจะถูกแบ่งเป็นวิธีการเรียนในสองระดับชั้น ได้แก่ การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา
มีใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษา
  1. ตั้งเป้าหมาย
เริ่ม ตั้งเป้าหมายว่า เราอยากจะเข้าคณะอะไร ในสถาบันการศึกษาแห่งไหน ซึ่งคณะและสถาบันการศึกษาดังกล่าวจะต้องเป็นสายวิชาที่เราชอบ เพราะถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่เราชอบเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จได้ อย่างไม่ยากเย็นนัก ฉะนั้น เมื่อตั้งเป้าหมายได้แล้วว่าจะเรียนที่ไหน หลังจากนั้นให้ไปเยี่ยมชมคณะและมหาวิทยาลัยด้วยตนเอง เพื่อซึมซับบรรยากาศและความรู้สึกต่าง ๆ ณ สถานที่แห่งนั้น พยายามจดจำภาพและความรู้สึกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อภาพทุกภาพถูกตรึงเข้าไปในจิตใต้สำนึกของเรา สิ่งนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้เราเกิดกำลังใจในการอ่านหนังสือ และจะเป็นตัวที่คอยเตือนให้เรามีสติรู้ว่า ตอนนี้เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิตคืออะไร ตอนนี้เราควรทำสิ่งใดและไม่ควรทำสิ่งใด นอกจากนั้น นักเรียนที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งจิตว่า “จะต้องเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยดังกล่าวให้ได้” เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอนตรึงอยู่ในใจแล้ว ให้เริ่มตั้งใจอ่านหนังสือด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเท รวมสมาธิทั้งหมดลงสู่เรื่องเรียนอย่างเดียว เรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความรักจะต้องพักเอาไว้ก่อน มิฉะนั้น จิตใจเราจะวอกแวกว้าวุ่น สมาธิจะแตก ห่วงหน้าพะวงหลัง ทำให้อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง และจะทำให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ในที่สุด
  1. ศึกษาแนวข้อสอบ
ศึกษา แนวข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยย้อนหลังสิบปี ลองฝึกทำและวิเคราะห์ดูว่าเราถนัดและไม่ถนัดเรื่องไหนบ้าง เพื่อจะรู้ว่าความสามารถที่แท้จริงของเรานั้นอยู่ในระดับไหน ยังต้องปรับปรุงในส่วนใดอีกบ้าง และควรเริ่มทำในเรื่องเรื่องที่ยากและสำคัญที่สุดก่อน
  1. ให้ความสำคัญกับวิชาหลักของคณะที่เราจะสอบเข้า
ให้ สนใจและให้ความสำคัญที่วิชาหลักของคณะที่เราจะสอบเข้า เช่น คณะบริหารธุรกิจให้เน้นที่วิชาเลขและวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น โดยวิชาดังกล่าวนั้น เราจะต้องทำคะแนนให้ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จึงจะมีโอกาสสูงในสอบติด
  1. เรียนพิเศษเสริมในโรงเรียนกวดวิชา
เลือก เรียนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาดี ๆ เพราะคุณครูตามโรงเรียนกวดวิชานั้นจะมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อสอบมาเป็น อย่างดีแล้ว พร้อมกับการมีเทคนิคต่าง ๆ ในการสอนและในการทำข้อสอบ ทำให้เรียนแล้วไม่น่าเบื่อ และยังช่วยให้เราทำข้อสอบได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว นอกจากนั้น การเรียนในโรงเรียนกวดวิชาจะทำให้เรามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น เพราะบรรยากาศเอื้ออำนวยให้เรียน เนื่องจากนักเรียนที่ไปเรียนในโรงกวดวิชานั้น ส่วนใหญ่มักเป็นเด็กที่มีความขวนขวายในการศึกษาเล่าเรียน และมีความมุ่งมั่นที่จะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ จึงทำให้บรรยากาศนั้นน่าเรียนตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การเรียนในโรงเรียนย่อมมีความสำคัญด้วยเช่นเดียวกันเพราะเป็นการสอนตั้งแต่ ระดับพื้นฐานเพื่อช่วยในการนำไปต่อยอดความรู้จากสถาบันกวดวิชาต่อไป


  1. สรุปเนื้อหาความรู้ของแต่ละวิชา
ทบทวน และสรุปเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาจากทั้งในโรงเรียนและสถาบันกวดวิชา โดยการถามตัวเองว่า แก่นความรู้ของวิชานี้อยู่ตรงไหน เนื้อหาสำคัญมีอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม เราเข้าใจถ่องแท้แล้วหรือยัง และเราจำอะไรได้บ้าง เป็นต้น การสรุปเนื้อหาคือ การคุยกับตัวเองและเขียนสรุปประเด็นออกมาเป็นข้อ ๆ เพื่อทำให้เราเห็นตนเองชัดขึ้น จะได้ไม่เกิดความท้อในการอ่านหนังสือ เพราะเมื่อเขียนออกแล้วเราจะรู้ว่าสิ่งใดควรอ่านบ้างและมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่มากอย่างเราคิดไว้ก็ได้
  1. สวดมนต์เพื่อสร้างกำลังสมาธิ
กำลัง สมาธิจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย จดจำข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถตอบคำถามได้อย่างตรงประเด็น และอ่านเท่าไรก็ไม่เหนื่อย ฉะนั้น กำลังสมาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะการพยายามจดจำข้อมูลมากมายในระยะเวลาที่ จำกัด หากไม่มีกำลังสมาธิเพียงพอคงจะทำได้ยาก หรืออาจจะต้องเสียเวลามากจนเกินไป


ที่มา:http://www.drboonchai.com

LinkWithin

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Free Hosting
loading...